เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: รู้ทันสื่อ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

เพื่อให้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และผลกระทบจากสื่อโฆษณาต่างๆ รู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อได้อย่างมีวิจารณญาณรวมทั้งสร้างสรรค์สื่อสีขาว ออกแบบการกินและการใช้ชีวิตได้อย่างถูกสุขภาวะ

Week 1


เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและเห็นความแตกต่างของวัฒนธรรมการกิน และการใช้วิจารณญาณในการเลือกรับสื่อ
Week
Input
Process
Output
Outcome







1

12 .ค. 2558
ถึง
16 ม.ค. 2558
โจทย์
สร้างแรงบันดาลใจ
Key  Questions
 - นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดอาหารแต่ละท้องถิ่นจึงมีความแตกต่างกัน
- นักเรียนคิดว่าการรับข้อมูลจากสื่อต่างๆมีผลอย่างไรต่อการดำเนินชีวิต

เครื่องมือคิด
Round Rubin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปVDO
Round table
เขียนความคิดเห็นเกี่ยวกับ การดูคลิปVDO
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปVDO

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- คลิปVDO สื่อโฆษณา เช่น โฆษณาพาเพลิน
จันทร์
ชง :  ครูพานักเรียนเล่นเกม จับคู่ หมวดหมู่อาหาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร / นักเรียนรู้สึกอย่างไร / นักเรียนได้เรียนรู้อะไร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น (Round table) ร่วมพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำ
อังคาร
ชง : ดูเปิดคลิปรายการ กินไปเที่ยวไป ซึงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ต่างสานที่ต่างวัฒนธรรม เพื่อให้เห็นความหลากหลายของอาหารแต่ละพื้นถิ่น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดอาหารแต่ละท้องถิ่นจึงมีความแตกต่างกัน?”
เชื่อม :  อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู (Round Rubin)
และ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
พุธ
ชง : ครูเปิดคลิป โฆษณาเกินจริง เกี่ยวกับอีกแง่มุมหนึ่งของโฆษณาชวนเชื่อที่เอาเปรียบผู้บริโภค
เชื่อม :  นักเรียนเรียนร่วมวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากคลิป โฆษณาเกินจริง(Round table)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการรับข้อมูลจากสื่อต่างๆ มีผลอย่างไรต่อการดำเนินชีวิต?”
เชื่อม :  นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- วิเคราะห์และเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับชม
 
ชิ้นงาน
-  สรุปสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกรับสื่อและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ทักษะ
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ได้ดูกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอที่ทำแต่ละกลุ่ม สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปVDO

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 - สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
          วันแรกที่เปิดเรียน Quarter 4 ปีนี้สนุกตั้งแต่วันแรกที่เปิดเรียน เพราะข้าวสินเหล็ก 4 เมล็ดที่นักเรียนปลูกไว้ตั้งแต่เริ่ม Quarter 3 นั้น ถูกควายกินจดหมดเกลี้ยงทุกท่อ นักเรียนหลายคนยืนตกตะลึงอยู่กับท่อของตนเอง “คุณครูข้าวของพวกเราหายไปไหนหมดครับ?”


พวกเราทุกคนจึงรวมกันถอดบทเรียนจากการปลูกข้าวในครั้งนี้ สรุปภาพรวมเป็นรูปแบบ Flow Chart ก่อน นักเรียนจะวาดภาพและเขียนแต่ละกระบวนการตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง? เกิดทักษะอะไรขึ้นบ้าง? ส่วนด้านหลังครูให้เขียนเกี่ยวกับอุปสรรค/ปัญหาที่นักเรียนพบเจอระหว่างการดำเนินกิจกรรม

            ครูจึงให้โจทย์ให้ 'การปลูกผัก' กับนักเรียนใหม่ไว้ 3 ข้อ
-นักเรียนจะกระบวนการปลูกผักให้หลากหลายและเกื้อกูลกันได้อย่างไร?
-ทำไมจึงเลือกผักชนิดนี้ มีสรรพคุณอย่างไร?
-นักเรียนจะนำเสนอกระบวนการเรียนรู้นี้ในรูปแบบใด?

ทุกคนออกแบบวาดเขียนกระบวนการของแต่ละคนด้วยความตั้งใจ ก่อนกน้านี้ครูชวนนักเรียนคุยเกี่ยวกับการทำงานให้ เสร็จ กับการทำงานให้ สำเร็จ และ Empower นักเรียนทุกคนก่อนทำชิ้นงานทุกครั้ง
พอนักเรียนเขียนเสร็จ ทุกคนมานำเสนอเกี่ยวกับโจทย์ 3 ข้อดังกล่าว แล้วเพื่อนๆช่วยกันเสริมข้อมูลกัน ทุกคนจะได้รู้สรรพคุณของผักคนอื่นไปด้วย
และข้อสุดท้ายสำคัญ เพราะเกี่ยวกับPBL หลักที่นักเรียนจะได้เผยแพร่ข้อมูลไปพร้อมด้วย
_นักเรียนและครูร่วมกันปลูกผักของแต่ละคน บางคนเลือกผัก 3-4 ชนิด เพื่อให้ผักเกื้อกูลกันก่อนลงปลูกในท่อ และบางคนทำเป็นโครงเพื่อให้ท่อตนเองมีผักไม้เลื่อยขึ้นด้วย




ส่วนวันศุกร์นักเรียนร่วมเดินทางไกล นักเรียนจึงทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน.

1 ความคิดเห็น:

  1. วันแรกที่เปิดเรียน Quarter 4 ปีนี้สนุกตั้งแต่วันแรกที่เปิดเรียน เพราะข้าวสินเหล็ก 4 เมล็ดที่นักเรียนปลูกไว้ตั้งแต่เริ่ม Quarter 3 นั้น ถูกควายกินจดหมดเกลี้ยงทุกท่อ นักเรียนหลายคนยืนตกตะลึงอยู่กับท่อของตนเอง “คุณครูข้าวของพวกเราหายไปไหนหมดครับ?”
    พวกเราทุกคนจึงรวมกันถอดบทเรียนจากการปลูกข้าวในครั้งนี้ สรุปภาพรวมเป็นรูปแบบ Flow Chart ก่อน นักเรียนจะวาดภาพและเขียนแต่ละกระบวนการตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง? เกิดทักษะอะไรขึ้นบ้าง? ส่วนด้านหลังครูให้เขียนเกี่ยวกับอุปสรรค/ปัญหาที่นักเรียนพบเจอระหว่างการดำเนินกิจกรรม
    ครูจึงให้โจทย์ให้ 'การปลูกผัก' กับนักเรียนใหม่ไว้ 3 ข้อ
    -นักเรียนจะกระบวนการปลูกผักให้หลากหลายและเกื้อกูลกันได้อย่างไร?
    -ทำไมจึงเลือกผักชนิดนี้ มีสรรพคุณอย่างไร?
    -นักเรียนจะนำเสนอกระบวนการเรียนรู้นี้ในรูปแบบใด?
    ทุกคนออกแบบวาดเขียนกระบวนการของแต่ละคนด้วยความตั้งใจ ก่อนกน้านี้ครูชวนนักเรียนคุยเกี่ยวกับการทำงานให้ ‘เสร็จ’ กับการทำงานให้ ‘สำเร็จ’ และ Empower นักเรียนทุกคนก่อนทำชิ้นงานทุกครั้ง
    พอนักเรียนเขียนเสร็จ ทุกคนมานำเสนอเกี่ยวกับโจทย์ 3 ข้อดังกล่าว แล้วเพื่อนๆช่วยกันเสริมข้อมูลกัน ทุกคนจะได้รู้สรรพคุณของผักคนอื่นไปด้วย
    และข้อสุดท้ายสำคัญ เพราะเกี่ยวกับPBL หลักที่นักเรียนจะได้เผยแพร่ข้อมูลไปพร้อมด้วย
    _นักเรียนและครูร่วมกันปลูกผักของแต่ละคน บางคนเลือกผัก 3-4 ชนิด เพื่อให้ผักเกื้อกูลกันก่อนลงปลูกในท่อ และบางคนทำเป็นโครงเพื่อให้ท่อตนเองมีผักไม้เลื่อยขึ้นด้วย

    ส่วนวันศุกร์นักเรียนร่วมเดินทางไกล นักเรียนจึงทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน.

    ตอบลบ