เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: รู้ทันสื่อ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

เพื่อให้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และผลกระทบจากสื่อโฆษณาต่างๆ รู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อได้อย่างมีวิจารณญาณรวมทั้งสร้างสรรค์สื่อสีขาว ออกแบบการกินและการใช้ชีวิตได้อย่างถูกสุขภาวะ

Week 5

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและเห็นความเห็นความสำคัญของสื่อ ประเภทของสื่อและสามารถมีวิจารณญาณในการรับโฆษณาในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome







5

9 ก.พ. 2558
ถึง
13 ก.พ. 2558
โจทย์
- ความสำคัญแหล่งที่มาของสื่อ
- สื่อ/ประเภทของสื่อและโฆษณา
- โฆษณาในชีวิตประจำวัน
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าในชีวิตประจำวันนักเรียนได้รับข่าวสารจากสื่อประเภทใดบ้าง?
- สื่อมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร?
เครื่องมือคิด
 Show  and Share
- นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสื่อมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
- นำเสนอplace mat ความสำคัญของสื่อ
Place mat สร้างชิ้นงานความเป็นมาของสื่อ
Wall thinking
- ติดชิ้นงานตามรูปแบบต่างๆ ที่นักเรียนสนใจถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
 - ห้องเรียน
- คลิปสื่อสร้างสรรค์
- อินเตอร์เน็ต

จันทร์
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยถึงสื่อต่างๆ ที่ทีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง 
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่า ในชีวิตประจำวันนักเรียนได้รับข่าวสารจากสื่อประเภทใดบ้าง?”
อังคาร
เขื่อม :  อภิปรายร่วมกัน พร้อมสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสื่อ
- นักเรียนนำเสนอข้อมูลและอภิปรายร่วมกัน
พุธ
เขื่อม :   ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อระดมความคิดทำชิ้นงานผ่านplace mat
ศุกร์
เขื่อม :   นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานกลุ่มความเป็นมาของสื่อและเพื่อนๆ กลุ่มอื่นร่วมตั้งคำถาม
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- วิเคราะห์สื่อในชีวิตประจำวัน
- สืบค้นข้อมูลสื่อมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
- ออกแบบชิ้นงานและนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น
- การอภิปรายร่วมกันกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- สมุดเล่มเล็ก
- place mat ความสำคัญของสื่อ
- ชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจในรูปแบบที่หลากหลาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
รูปแบบและประเภทของสื่อ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือกันทำงาน
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาสร้างชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานของตนเองและของผู้อื่น
ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสื่อมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจสื่อมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


บันทึกหลังกิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้กิจกรรมคู่ขนาน-การกิน และPBLรู้ทันสื่อ ในสัปดาห์ที่ 5 นี้
_ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา นักเรียนได้นำเสนองานประเภทของสื่อที่นักเรียนทุกคนได้ทำชิ้นงานผ่านการ์ตูนช่องA3 (แต่เนื่องจากวันจันทร์มีกิจกรรมที่นักเรียนชาย-หญิง ได้ทำแยกกันระหว่างครูณีกับครูป้อมจัดพูดคุยกับนักเรียน) นักเรียนจึงใช้เวลาที่เหลือนำเสนอชิ้นงานต่อครูและเพื่อนๆ
โจทย์ต่อไปตามปฏิทินการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องการสื่อ คุณครูให้โจทย์นักเรียน “นักเรียนจะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายสื่อให้กับผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากที่สุด รับรู้โดยง่ายและสะดวก เนื่องจากมีผู้บริโภคหลายกลุ่ม”
นักเรียนเสนอว่าอยากถ่ายทอดทางด้านงานเขียนลงมือทำเผยแพร่และถ่ายทอดผ่านสื่ออิเล็กทอนิคส์ คุณครูก็เลยเสนอให้นำเสนอผ่านE-Book โดยที่นักเรียนแบ่งกลุ่มและช่วยกันสร้างข้อมูล เพื่อที่จะนำมาสแกนงานเผยแพร่
            ครูจึงแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายสื่อ โดยที่นักเรียนแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน และกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำงานในระยะยาว พอนักเรียนเผยแพร่E-Book เสร็จทุกคนในกลุ่มสามารถ หาข้อมูลและทำภาระงานในหัวข้อถัดไปได้เลย นักเรียนแต่ละคนจึงมีความกระตือรือร้นในการทำงานชิ้นนี้ และยังเป็นงานใหม่ที่พวกเขาได้เรียนรู้การทำงานของE-Book อีกช่องทาง ควบคู่กับการเรียนรู้เรื่องรู้ทันสื่อ
**และในวันศุกร์นักเรียน ม.1 ได้รับโจทย์จากครูใหญ่และฝ่ายอบรมให้จัดกิจกรรมPBL ให้เห็นกิจกรรมในบ่ายวันศุกร์ในรูปแบบ Active Learning
_ครูจึงชวนนักเรียนคุยเรื่องกิจกรรมที่นักเรียนกำลังเรียนคู่ขนานมาจัดกิจกรรมการกินกับกิจกรรมปลูกผัก
_ครูณีให้โจทย์กับนักเรียน.
1. แลกเปลี่ยนวิธีการดูแลตนเองผ่านสื่อสร้างสรรค์ / นำเสนอ
2. วิเคราะห์การเจริญเติบโตของผัก
- ปัญหาที่พบ (ดิน : กรด/เบส) + ตรวจสอบ : กรด/เบส)
- แนวทางแก้ไข
ในช่วงวันพฤหัสฯ ครูพานักเรียนวัดน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อหาค่ามวลของร่างกายBMI โดยคำนวณผ่านสูตร = น้ำหนัก(kg) / (ส่วนสูง cm) ยกกำลังสอง
นักเรียนแต่ละคนหามวลร่างกายของตนเองก่อน จึงคิดค้นกิจกรรมที่จะช่วยเพื่อนๆลดหุ่น ลดน้ำหนักและคิดรูปแบบการกินของตนเองและให้กับเพื่อนๆ
ก่อนที่ครูให้นักเรียนทุกคนสืบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบดินว่าเป็นกรด-เบส อย่างไร?  แบบไหนเหมาะแก่การปลูกผัก และนักเรียนทุกคนตั้งสมมติฐานว่าท่อที่ปลูกข้าวได้ดี ท่อนั้นก็จะปลูกผักได้ดีเช่นกัน.
***ถึงวันศุกร์นักเรียนได้ไปหาขวดเพื่อมาใส่ดินในแต่ละท่อ 
 และเติมน้ำให้ดินตกตะกอนเพื่อตรวจสอบความเป็นกรด-เบส ผ่านกระดาษลิตมัส โดยนักเรียนแต่ละคนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลของตนเองและเพื่อนๆและหาข้อสรุปร่วมกัน ดินส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เหมาะแก่การปลูกผัก แต่ปริมาณดินเทียบเคียงกันยาก
และนักเรียนคิดกิจกรรมพาเพื่อนออกกำลังกายโยคะ โดยพี่เบ้น
กินผักรอบมัธยมโดยพี่อุ้ม และคุณครูพานักเรียนเดินรอๆโรงเรียนและแกว่งแขนเพื่อช่วยลดไขมัน และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ครูให้นักเรียนนำไปทำเป็นการบ้านและงานอื่นๆ ที่ต้องทำต่อเนื่องระยะยาว


1 ความคิดเห็น:

  1. การเรียนรู้กิจกรรมคู่ขนาน-การกิน และPBLรู้ทันสื่อ ในสัปดาห์ที่ 5 นี้
    _ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา นักเรียนได้นำเสนองานประเภทของสื่อที่นักเรียนทุกคนได้ทำชิ้นงานผ่านการ์ตูนช่องA3 (แต่เนื่องจากวันจันทร์มีกิจกรรมที่นักเรียนชาย-หญิง ได้ทำแยกกันระหว่างครูณีกับครูป้อมจัดพูดคุยกับนักเรียน) นักเรียนจึงใช้เวลาที่เหลือนำเสนอชิ้นงานต่อครูและเพื่อนๆ
    โจทย์ต่อไปตามปฏิทินการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องการสื่อ คุณครูให้โจทย์นักเรียน “นักเรียนจะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายสื่อให้กับผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากที่สุด รับรู้โดยง่ายและสะดวก เนื่องจากมีผู้บริโภคหลายกลุ่ม”
    นักเรียนเสนอว่าอยากถ่ายทอดทางด้านงานเขียนลงมือทำเผยแพร่และถ่ายทอดผ่านสื่ออิเล็กทอนิคส์ คุณครูก็เลยเสนอให้นำเสนอผ่านE-Book โดยที่นักเรียนแบ่งกลุ่มและช่วยกันสร้างข้อมูล เพื่อที่จะนำมาสแกนงานเผยแพร่
    ครูจึงแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายสื่อ โดยที่นักเรียนแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน และกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำงานในระยะยาว พอนักเรียนเผยแพร่E-Book เสร็จทุกคนในกลุ่มสามารถ หาข้อมูลและทำภาระงานในหัวข้อถัดไปได้เลย นักเรียนแต่ละคนจึงมีความกระตือรือร้นในการทำงานชิ้นนี้ และยังเป็นงานใหม่ที่พวกเขาได้เรียนรู้การทำงานของE-Book อีกช่องทาง ควบคู่กับการเรียนรู้เรื่องรู้ทันสื่อ
    **และในวันศุกร์นักเรียน ม.1 ได้รับโจทย์จากครูใหญ่และฝ่ายอบรมให้จัดกิจกรรมPBL ให้เห็นกิจกรรมในบ่ายวันศุกร์ในรูปแบบ Active Learning
    _ครูจึงชวนนักเรียนคุยเรื่องกิจกรรมที่นักเรียนกำลังเรียนคู่ขนานมาจัดกิจกรรมการกินกับกิจกรรมปลูกผัก
    _ครูณีให้โจทย์กับนักเรียน.
    1. แลกเปลี่ยนวิธีการดูแลตนเองผ่านสื่อสร้างสรรค์ / นำเสนอ
    2. วิเคราะห์การเจริญเติบโตของผัก
    - ปัญหาที่พบ (ดิน : กรด/เบส) + ตรวจสอบ : กรด/เบส)
    - แนวทางแก้ไข
    ในช่วงวันพฤหัสฯ ครูพานักเรียนวัดน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อหาค่ามวลของร่างกายBMI โดยคำนวณผ่านสูตร = น้ำหนัก(kg) / (ส่วนสูง cm) ยกกำลังสอง
    นักเรียนแต่ละคนหามวลร่างกายของตนเองก่อน จึงคิดค้นกิจกรรมที่จะช่วยเพื่อนๆลดหุ่น ลดน้ำหนักและคิดรูปแบบการกินของตนเองและให้กับเพื่อนๆ
    ก่อนที่ครูให้นักเรียนทุกคนสืบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบดินว่าเป็นกรด-เบส อย่างไร? แบบไหนเหมาะแก่การปลูกผัก และนักเรียนทุกคนตั้งสมมติฐานว่าท่อที่ปลูกข้าวได้ดี ท่อนั้นก็จะปลูกผักได้ดีเช่นกัน.
    ***ถึงวันศุกร์นักเรียนได้ไปหาขวดเพื่อมาใส่ดินในแต่ละท่อ และเติมน้ำให้ดินตกตะกอนเพื่อตรวจสอบความเป็นกรด-เบส ผ่านกระดาษลิตมัส โดยนักเรียนแต่ละคนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลของตนเองและเพื่อนๆและหาข้อสรุปร่วมกัน ดินส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เหมาะแก่การปลูกผัก แต่ปริมาณดินเทียบเคียงกันยาก
    และนักเรียนคิดกิจกรรมพาเพื่อนออกกำลังกายโยคะ โดยพี่เบ้น
    กินผักรอบมัธยมโดยพี่อุ้ม และคุณครูพานักเรียนเดินรอๆโรงเรียนและแกว่งแขนเพื่อช่วยลดไขมัน และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ครูให้นักเรียนนำไปทำเป็นการบ้านและงานอื่นๆ ที่ต้องทำต่อเนื่องระยะยาว.

    ตอบลบ